top of page
Gradient

บทความสุขภาพจิต

รวมบทความน่ารู้ จากทีมให้คำปรึกษาของ The Oasis

รูปภาพนักเขียนThe Oasis Team

ข้อแตกต่างระหว่าง จิตแพทย์ VS นักจิตวิทยา VS นักจิตบำบัด

อัปเดตเมื่อ 16 ก.ค. 2566



ไขข้อข้องใจ ความแตกต่างระหว่าง จิตแพทย์ VS นักจิตวิทยา VS นักจิตบำบัด แม้จะทำหน้าที่แตกต่างกัน แต่ต้องทำงานร่วมกัน


ปัจจุบันนี้เรามักจะได้เห็นข่าวตามสื่อต่าง ๆ กับเรื่องราวของคนที่มีปัญหาทางสุขภาพจิตกันมากยิ่งขึ้น เราได้รับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า อาการนอนไม่หลับ โรคภาวะความเครียดมาจากการทำงาน หรือปัญหาต่าง ๆ ที่รุมเร้าเข้ามา ข่าวสาร และข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้ ทำให้เราทราบได้ว่าเรื่องสุขภาพจิตเป็นเรื่องที่สำคัญ และเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวกับเรามากยิ่งขึ้น หลายคนมีคนใกล้ตัวมีปัญหาด้านสุขภาพจิต และก็หลายคนที่มีประสบการณ์กับปัญหาทางจิตเองก็มี แต่เราหลายคนอาจจะยังคงสับสน และยังคงสงสัยอยู่ว่า ถ้าเกิดเรามีปัญหาทางจิตแล้ว เราควรจะต้องไปปรึกษาหาใคร ระหว่างจิตแพทย์ หรือนักจิตวิทยา หรือนักจิตบำบัดดี


วันนี้ทาง THE OASIS คลินิกจิตเวช ชวนมารู้จักความแตกต่างระหว่าง จิตแพทย์ VS นักจิตวิทยา VS นักจิตบำบัดกัน


จิตแพทย์ (Psychiatrist)

แน่นอนเป็นอันที่ทราบกันดีแล้วว่า แพทย์ คือผู้ที่จะมาทำการรักษาคนไข้ให้ป่วยนั้น จะต้องเป็นบุคคลที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญทางด้านการแพทย์มาโดยเฉพาะ คือจะต้องผ่านการจบการศึกษาเหมือนแพทย์ หรือหมอทั่วไป 6 ปี สำหรับผู้ที่จะมาเป็นจิตแพทย์ หรือหมอจิตเวชได้ ก็ต้องเรียนต่อแพทย์เฉพาะด้านจิตเวชต่อให้เป็นแพทย์ผู้ที่เชี่ยวชาญด้านจิต และการทำงานของสมอง คนส่วนใหญ่ยังเข้าใจว่าจิตแพทย์ หรือหมอจิตเวชจะรักษาพฤติกรรมทางด้านจิตใจเท่านั้น แต่แท้จริงแล้วจิตแพทย์จะรักษาผู้ป่วยที่มีอาการพฤติกรรมที่แสดงออกจากความผิดปกติในการทำงานของสมอง อาทิเช่น การหลั่งฮอร์โมนผิดปกติในสมองของโรคซึมเศร้า โรคไบโพลาร์ และโรคจิตเภทอื่น ๆ ลักษณะงานของจิตแพทย์ หรือหมอจิตเวชจึงเปรียบเสมือนนักสืบที่ต้องพยายามค้นหาคำตอบให้ได้ว่าคนไข้มีปัญหาผิดปกติใดที่ทำให้สมองทำงานผิดปกติ และการรักษาของจิตแพทย์นั้น จะเน้นในการใช้ยา และเครื่องมือทางการแพทย์ในการรักษา เพื่อช่วยปรับเปลี่ยนสารเคมีในสมองให้เกิดความสมดุล และทำงานได้ตามปกติเหมือนเดิม


นักจิตวิทยา (Psychologist)

เป็นอีกหนึ่งคำ หนึ่งอาชีพที่เราคุ้นเคยกัน แต่คนส่วนใหญ่จะไม่ทราบว่านักจิตวิทยาทำหน้าที่อะไร นักจิตวิทยาคือคนที่จบการศึกษามาจากสาขาจิตวิทยา ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาในเชิงจิตวิทยา ซึ่งนักจิตวิทยามีอยู่หลายสาขาด้วยกัน เช่น จิตวิทยาคลินิก จิตวิทยาสังคม จิตวิทยาพัฒนาการ จิตวิทยาอุตสาหกรรม และองค์การ จิตวิทยาชุมชน เป็นต้น นักจิตวิทยาจะรับฟังปัญหาของผู้ที่เข้ามาขอคำปรึกษา และนักจิตวิทยาจะให้คำแนะนำในการปรับตัว และให้กำลังใจกลับไป โดยนักจิตวิทยาจะทำงานร่วมกับจิตแพทย์ในกรณีที่แพทย์ต้องการข้อมูลเชิงลึกของคนไข้เพื่อใช้ในการวินิจฉัยโรค ซึ่งนักจิตวิทยาจะมีเวลา เครื่องมือ และวิธีการที่ได้จากการเรียนรู้ และสร้างสรรค์มาปรับใช้ให้เหมาะกับคนที่มีปัญหาได้มากกว่าจิตแพทย์ แต่นักจิตวิทยาจะไม่มีอำนาจในการวินิจฉัย หรือสั่งยารักษาได้เหมือนจิตแพทย์ หน้าที่หลักของนักจิตวิทยาจึงป็นคนที่คอยให้คำปรึกษาปัญหาของคนไข้เท่านั้น


นักจิตบำบัด (Psychotherapist)

หลายคนยังคงไม่คุ้นกับคำนี้ นักจิตบำบัด ซึ่งถือว่าเป็นอาชีพใหม่สำหรับคนไทย ซึ่งอันแท้จริงแล้วในประเทศไทยยังไม่มีปริญญาทางจิตบำบัดโดยตรงเหมือนต่างประเทศ แต่ปัจจุบันเรามักจะเห็นคลินิกจิตบำบัดด้วยวิธีการต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นนักจิตบำบัดต้องผ่านการเรียนรู้จนได้ใบประกาศทางวิชาชีพมาโดยเฉพาะ การรักษาอาการทางจิตของนักจิตบำบัดที่เราเห็นกันในบริบทของสังคมไทย เช่น การพูดคุย ศิลปะบำบัด ละครบำบัด ดนตรีบำบัด การเคลื่อนไหวบำบัด เป็นต้น ซึ่งเทคนิคในการบำบัดเหล่านี้จะเป็นเครื่องมือในการที่ให้คนได้ระบายสิ่งที่ติดค้างในใจจนก่อให้เกิดปัญหาทางสุขภาพจิต นักจิตบำบัดจะทำหน้าที่เป็นผู้เอื้ออำนวยพื้นที่ปลอดภัยและไว้วางใจให้ผู้เข้ารับบริการได้สำรวจและทำความเข้าใจโลกภายในจิตใจของตนเอง และนักจิตบำบัดจะทำหน้าที่สะท้อน และเข้าใจโลกภายในของผู้มารับบริการเพื่อให้ผู้รับบริการได้เข้าใจความซับซ้อนหรือความหมายในความคิด อารมณ์และความรู้สึกของตนเองมากยิ่งขึ้น การทำงานของนักจิตบำบัดจึงต้องอาศัยความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์อย่างสูง เพื่อใช้ในการตีความอาการให้รู้สึก และเข้าใจผู้ป่วยมากที่สุด และนำไปสู่การบำบัดรักษาปัญหาของผู้ป่วยให้ทุเลาลง และหายไปในที่สุด


ในการรักษาผู้ป่วยทางจิตหนึ่งเคส บางทีอาจจะใช้แค่จิตแพทย์เพียงคนเดียว หรือนักจิตวิทยา หรือนักจิตบำบัดเพียงคนเดียวก็ได้ แต่หลาย ๆ กรณีในปัจจุบันจำเป็นต้องใช้จิตแพทย์ นักจิตวิทยา และนักจิตบำบัด ภาคีทั้ง 3 ทำงานร่วมกัน เพื่อการรักษาผู้ป่วยที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด และถ้าหากใครมีคนใกล้ตัว หรือกำลังมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพทางจิต โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล โรคนอนไม่หลับ หรือปัญหาสุขภาพจิตอื่น ๆ ที่ต้องการปรึกษาจิตแพทย์ หรือนักจิตบำบัดที่มีความเชี่ยวชาญ


ที่ THE OASIS คลินิกจิตเวช เรามีนักจิตบำบัด และจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ยินดีให้บริการปรึกษาจิตแพทย์ออนไลน์พร้อมรับฟังปัญหา และบริการวางแผนการรักษาโรคซึมเศร้า โรคนอนไม่หลับ โรควิตกกังวล และปัญหาสุขภาพจิตอื่น ๆ สามารถให้คำปรึกษาในกลุ่มอาการหลากหลายที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของท่าน หรือคนที่ท่านรัก เริ่มตั้งแต่กลุ่มอาการเครียด เช่น รู้สึกวิตกกังวล คิดวกวน ไม่มีเรี่ยวแรง นอนไม่หลับ หงุดหงิดง่าย หรือแพนิค (อาการตื่นตระหนกโดยไม่มีสาเหตุ) โดยการบำบัดด้วยกีฬา ไม่ว่าจะเป็นคลาสโยคะที่ช่วยให้ร่างกายของคุณได้พักผ่อน หรือบำบัดด้วยศิลปะ เพื่อเพิ่มสมาธิให้กับจิตใจ การเข้าคลาสศิลปะที่ผ่อนคลาย และทำให้คุณได้ใส่ใจในรายละเอียดเล็ก ๆ ในชีวิตมากขึ้น ผู้รับบริการจะได้รับความรู้ความเข้าใจในภาวะโรค และมีบทบาทในการวางแผนการรักษาร่วมกัน ทั้งในส่วนการรักษาด้วยยา และการทำจิตบำบัด


The Oasis คลินิกจิตเวช บริการวางแผนรักษาโรคทางจิตเวช

โดยจิตแพทย์ หมอจิตเวช และนักจิตบำบัดผู้เชี่ยวชาญ ทั้งโรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า โรคนอนไม่หลับ อาการแพนิค อารมณ์สองขั้ว ย้ำคิดย้ำทำ และปัญหาสุขภาพจิตอื่น ๆ








ดู 11,099 ครั้ง0 ความคิดเห็น

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด

Comments


bottom of page