top of page
Gradient

บทความสุขภาพจิต

รวมบทความน่ารู้ จากทีมให้คำปรึกษาของ The Oasis

รูปภาพนักเขียนThe Oasis Team

ความท้าทาย และแนวทางการรักษาโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ

อัปเดตเมื่อ 2 ต.ค. 2566



ปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ ความท้าทาย และแนวทางในการรักษาโรคซึมเศร้า


โรคซึมเศร้า สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกช่วงวัยของชีวิต ไม่เว้นแม้กระทั่งในผู้สูงอายุ หลาย ๆ ท่าน อาจมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับช่วงวัยนี้ ว่าคงเป็นวัยที่มีความมั่นคงทางอารมณ์ เพราะเป็นวัยที่ผ่านร้อนผ่านหนาว ผ่านประสบการณ์ต่าง ๆ มาทุกรูปแบบแล้ว แม้กระทั่งบางท่านอาจคิดว่าผู้สูงอายุเป็นวัยที่ไม่มีความเครียด เพราะไม่ต้องแบกรับภาระหน้าที่การงาน หรือการดูแลบุตรหลานเหมือนที่ผ่านมา แต่แท้จริงแล้ว ผู้สูงอายุนั้นมีสภาวะที่เปราะบางทั้งทางร่างกาย และจิตใจ จึงเป็นช่วงวัยที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคซึมเศร้าได้ไม่แพ้ช่วงวัยอื่นเลยทีเดียว


โรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ แบ่งได้เป็นโรคซึมเศร้าที่เป็นมาก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุ และโรคซึมเศร้าที่เกิดในช่วงที่เข้าสู่วัยสูงอายุแล้ว ซึ่งในบทความนี้ THE OASIS คลินิกจิตเวช เราจะกล่าวถึงอาการซึมเศร้าในช่วงที่เข้าสู่วัยสูงอายุแล้ว


ปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ

หากจำแนกปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคซึมเศร้า สามารถแบ่งได้เป็น ปัจจัยที่เกิดจากร่างกาย และปัจจัยที่เกิดจากอารมณ์ และจิตใจ


ปัจจัยที่เกิดจากร่างกาย

1.สารสื่อประสาทในสมองไม่สมดุล

สาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดโรคซึมเศร้าในทุกช่วงวัยรวมถึงผู้สูงอายุคือ สารสื่อประสาทในสมองไม่สมดุล หรือเรียกแบบเข้าใจง่าย ๆ ว่า สารเคมีในสมองไม่เท่ากัน ซึ่งส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดอาการซึมเศร้า และมักมีอาการของโรควิตกกังวล และโรคนอนไม่หลับร่วมด้วย


2.ร่างกายเกิดความเสื่อมถอย

ผู้สูงอายุจะเริ่มมีร่างกายที่เสื่อมถอย รวมถึงกำลังวังชาที่ลดลง ผู้สูงอายุหลาย ๆ ท่าน เมื่อวัยหนุ่มสาว เป็นคนกระฉับกระเฉง ทำอะไรด้วยตนเอง พอเข้าสู่วัยสูงอายุ ขา หรือข้อต่าง ๆ เริ่มไม่ดี อาจต้องใช้ไม้เท้า หรือรถเข็น ทำให้เดินเหินไม่สะดวก ไปไหนมาไหนลำบาก ต้องพึ่งพาบุตรหลาน หรือผู้ดูแล เหล่านี้อาจเป็นสาเหตุให้เกิดความเครียดในผู้สูงอายุได้


3.เกิดอาการป่วย หรือมีโรคอย่างอื่นร่วมด้วย

ผู้สูงอายุบางท่านอาจเป็นโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต ต้องนอนติดเตียง หรือถูกตัดอวัยวะจากภาวะแทรกซ้อนของโรคอื่น ๆ เช่น ถูกตัดขา ในผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นเบาหวาน และมีภาวะแทรกซ้อน ซึ่งการต้องนอนติดเตียง ไม่สามารถเดินได้แบบเดิม หรือการสูญเสียอวัยวะไป ส่งผลให้เกิดความเครียดในระดับที่รุนแรงได้ ผู้ป่วยจะรู้สึกเศร้า และหดหู่จนเกิดโรคซึมเศร้าในที่สุด หรือผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นอัลไซเมอร์ ซึ่งเกิดจากความเสื่อมถอยของสมอง ก็มักพบว่ามีความสัมพันธ์กับโรคซึมเศร้า กล่าวคือ อาการในกลุ่มโรคซึมเศร้า เป็นอาการนำที่พบบ่อยในภาวะสมองเสื่อม และผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมก็มีโอกาสที่จะเป็นโรคซึมเศร้าได้มากขึ้น ควรได้เข้ารับการตรวจประเมินจากจิตแพทย์


ปัจจัยที่เกิดจากอารมณ์ และจิตใจ

1.รู้สึกหมดคุณค่า

ผู้สูงอายุหลายท่าน ๆ เคยประกอบอาชีพต่าง ๆ เพื่อสร้างรายได้ เมื่อถึงวัยเกษียณ หลาย ๆ ท่านอาจอยู่บ้านอย่างเดียว หากไม่ทำงานอิเรกตามความสนใจ เช่น ปลูกผักสวนครัว ปลูกต้นไม้ ไปวัดทำบุญ ออกกำลังกาย เลี้ยงสัตว์ เป็นต้น อาจเกิดความเบื่อหน่าย บางท่านต้องพึ่งพาค่าใช้จ่ายต่าง ๆ จากลูกหลาน ก็จะรู้สึกว่าตนเองไม่มีคุณค่า หมดประโยชน์ ท้อแท้ สิ้นหวัง นำมาสู่อาการของโรคซึมเศร้าได้


2.สูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก

ผู้สูงอายุหลาย ๆ ท่าน มักอยู่กับคู่ชีวิตมานานเกิน 30 ปี หรืออาจเกือบครึ่งชีวิต ร่วมสุขร่วมทุกข์กันมา มีความรักความผูกพันต่อกัน หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียชีวิตลงก่อน ฝ่ายที่ยังมีชีวิตอยู่จะรู้สึกโศกเศร้าเสียใจเป็นอย่างมาก ไม่เพียงรู้สึกสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก แต่บางท่านยังรู้สึกเหมือนสูญเสียตัวตนไปด้วย รวมถึงการที่พี่น้อง หรือเพื่อนฝูง ค่อย ๆ ทยอยตายจากไป หรือการสูญเสียลูกหลานก่อนวัยอันควร สัตว์เลี้ยงที่เลี้ยงมานาน ต้นไม้ใหญ่ในบ้านที่มีอายุหลายสิบปี หรือหลายชั่วอายุคนถูกตัด หรือตายไป เหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบกระเทือนจิตใจของผู้สูงอายุทั้งสิ้น


3.เกิดความเหงา อ้างว้าง โดดเดี่ยว

มักเกิดกับผู้สูงอายุที่อยู่ตัวคนเดียว ลูกหลานไปทำงานต่างถิ่น หรืออาจแยกย้ายไปมีครอบครัวของตัวเอง เมื่ออยู่ตัวคนเดียวด้วยวัยที่ใช้ชีวิตได้ลำบากขึ้น ก็ย่อมเกิดความรู้สึกเหงา อ้างว้าง คิดถึงลูกหลาน คิดถึงเพื่อนฝูง คนเก่าแก่ที่เคยรู้จัก เมื่อเจ็บป่วยไม่มีใครดูแล ทำให้เกิดความรู้สึกโดดเดี่ยวขึ้นได้


4.การย้ายถิ่นฐาน

ผู้สูงอายุบางท่าน ย้ายถิ่นฐานตามลูกหลาน ไปยังจังหวัดอื่น ๆ ที่ไม่ได้เกิด และเติบโด หรือใช้ชีวิตมา ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดความเครียดได้ เพราะต้องปรับตัว ปรับการใช้ชีวิตจากการต้องมาอยู่ในสถานที่ที่ไม่คุ้นเคย บางท่านรัก และมีความผูกพันกับที่อยู่เดิมมาก มีความทรงจำต่าง ๆ อยู่มากมาย การโยกย้ายเปลี่ยนแปลง จึงส่งผลต่อสภาพจิตใจมากกว่าที่คิด

ความท้าทายในการรักษาโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ

การรักษาโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุค่อนข้างยาก และท้าทาย เนื่องจากผู้สูงอายุมักมีนิสัยกลับไปเหมือนเด็ก คือดื้อรั้น และประกอบกับมีความทิฐิสูง หลาย ๆ ท่านไม่คิดว่าตนเองมีอาการเข้าข่าย ซึ่งโดยส่วนใหญ่มักเป็นบุตรหลาน หรือคนใกล้ชิดที่สังเกตุพบอาการ บางท่านไม่ต้องการพบจิตแพทย์ หรือหมอจิตเวชเพื่อปรึกษาโรคซึมเศร้าตามที่ลูกหลานแนะนำ เนื่องจากมีความคิดตามแบบสมัยโบราณ ว่าคนที่พบจิตแพทย์คือคนบ้า คนป่วยจิตเวช หรือบางท่านก็กังวลเรื่องค่ารักษาโรคซึมเศร้า เกรงว่าจะเสียค่าใช้จ่ายแพง คิดว่าจะหายจากอาการได้เอง ตลอดไปจนถึงการไม่ให้ความร่วมมือในการรักษา ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานยาตามที่จิตแพทย์สั่งจ่าย การมาพบจิตแพทย์ตามนัด รวมถึงการปฏิบัตตนตามที่จิตแพทย์แนะนำ


แนวทางรักษาโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ

1.ปรึกษาจิตแพทย์ หรือหมอจิตเวชในผู้สูงอายุโดยตรง

โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่ละเอียดอ่อน และมีความซับซ้อน การรักษาโรคซึมเศร้าโดยตรงกับผู้ที่เชี่ยวชาญโรคนี้ตามช่วงวัยจะมีประสิทธิภาพที่ดีกว่า ตรงจุดกว่า และมุ่งหวังในการรักษาได้มากกว่า


2.ตรวจประเมินอย่างละเอียด

จิตแพทย์จะทำการตรวจสุขภาพจิตอย่างละเอียด ซักประวัติ สอบถามข้อมูลผู้ป่วย ทำการตรวจร่างกาย ตรวจระบบประสาทว่ามีรอยโรคที่มีความเกี่ยวข้องกับโรคซึมเศร้าหรือไม่ เพื่อจะได้รักษาผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง และปลอดภัย และทำการประเมินศักยภาพสมองด้วยแบบสอบถาม


3.เข้าสู่กระบวนการรักษาโรคซึมเศร้า

หากวินิจฉัยว่ามีอาการโรคซึมเศร้าแม้เพียงเริ่มต้น ขั้นต่อไปคือเข้าสู่กระบวนการรักษา ซึ่งมีทั้งการรักษาโรคซึมเศร้าด้วยยา โดยขึ้นอยู่กับความจำเป็นในการใช้ยาตามดุลพินิจของจิตแพทย์ และการรักษาโรคซึมเศร้าโดยการทำจิตบำบัด ซึ่งสามารถรักษาได้ทั้งในผู้ป่วยซึมเศร้า และผู้ที่มีโรคเครียดสะสม โรควิตกกังวล โรคนอนไม่หลับตามอาการที่วินิจฉัยได้


การได้ปรึกษาจิตแพทย์ หรือนักบำบัด ได้พูดคุย บอกเล่าปัญหาชีวิตต่าง ๆ เป็นการรักษาที่ดี เพราะนักจิตบำบัด จิตแพทย์ หรือหมอจิตเวช จะมีเทคนิคการพูดคุยโดยใช้จิตวิทยา เพื่อให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเกิดความสบายใจ และยินยอมที่จะระบายสิ่งที่อัดอั้นอยู่ภายในใจ จนกระทั่งเปิดใจเข้ารับการรักษาโรคซึมเศร้าในที่สุด


THE OASIS คลินิกจิตเวช ยินดีให้คำปรึกษาปัญหาด้านสุขภาพจิต โรคซึมเศร้า โรคนอนไม่หลับ โรควิตกกังวล โรคแพนิค และปัญหาสุขภาพจิตอื่น ๆ ดูแลครอบคลุมทั้งบริการทางจิตเวชทั่วไปในเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ เรามีการตรวจประเมินสุขภาพจิตอย่างละเอียด ทั้งด้านการซักประวัติ ตรวจร่างกาย ระบบประสาท และประเมินศักยภาพสมองด้วยแบบสอบถาม จิตแพทย์ หมอจิตเวชผู้เชี่ยวชาญของเรา สามารถให้คำปรึกษาในกลุ่มอาการหลากหลายที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของท่านหรือคนที่ท่านรัก เรามีนักจิตบำบัด และจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ยินดีให้บริการปรึกษาจิตแพทย์ออนไลน์ พร้อมรับฟังปัญหา และบริการวางแผนการรักษา บำบัดด้วยกีฬา หรือศิลปะ ไม่ว่าจะเป็นคลาสโยคะที่ช่วยให้ร่างกายของคุณได้พักผ่อน และเพิ่มสมาธิให้กับจิตใจ การเข้าคลาสศิลปะที่ผ่อนคลาย และทำให้คุณได้ใส่ใจในรายละเอียดเล็ก ๆ ในชีวิตมากขึ้น ผู้รับบริการจะได้รับความรู้ความเข้าใจในภาวะโรค และมีบทบาทในการวางแผนการรักษาร่วมกัน ทั้งในส่วนการรักษาด้วยยา และการทำจิตบำบัด


THE OASIS คลินิกจิตเวช พร้อมรับฟังปัญหา และบริการวางแผนการรักษาโรคซึมเศร้า โรคนอนไม่หลับ โรควิตกกังวล โรคแพนิค และปัญหาสุขภาพจิตอื่น ๆ โดยจิตแพทย์ หมอจิตเวช นักจิตบำบัดผู้เชี่ยวชาญ พร้อมบริการปรึกษาจิตแพทย์ออนไลน์ สามารถให้คำปรึกษาในกลุ่มอาการหลากหลายที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของท่าน หรือคนที่ท่านรัก เริ่มตั้งแต่กลุ่มอาการเครียด เช่น รู้สึกวิตกกังวล คิดวกวน ไม่มีเรี่ยวแรง นอนไม่หลับ หงุดหงิดง่าย หรือแพนิค (อาการตื่นตระหนกโดยไม่มีสาเหตุ) เรามีการตรวจประเมินสุขภาพจิตอย่างละเอียด ทั้งด้านการซักประวัติ ตรวจร่างกาย ระบบประสาท และประเมินศักยภาพสมองด้วยแบบสอบถาม ไม่ว่าจะเป็นอาการแบบใด ไม่ว่าจะเป็นอาการแบบใด ผู้รับบริการจะได้รับความรู้ความเข้าใจในภาวะโรค และมีบทบาทในการวางแผนการรักษาร่วมกัน ทั้งในส่วนการรักษาด้วยยา และการทำจิตบำบัด


The Oasis คลินิกจิตเวช บริการวางแผนรักษาโรคทางจิตเวช

โดยจิตแพทย์ หมอจิตเวช และนักจิตบำบัดผู้เชี่ยวชาญ ทั้งโรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า โรคนอนไม่หลับ อาการแพนิค อารมณ์สองขั้ว ย้ำคิดย้ำทำ และปัญหาสุขภาพจิตอื่น ๆ








ดู 287 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page