top of page
Gradient

บทความสุขภาพจิต

รวมบทความน่ารู้ จากทีมให้คำปรึกษาของ The Oasis

การจัดการโรคซึมเศร้าระหว่างตั้งครรภ์ และหลังคลอด



5 วิธีจัดการโรคซึมเศร้าระหว่างตั้งครรภ์ และหลังคลอดของคุณแม่มือใหม่


สำหรับว่าที่คุณแม่ และคุณแม่มือใหม่ทุกคนแล้ว เมื่อทราบข่าวว่าตัวเองตั้งครรภ์ย่อมรู้สึกดีใจกันเป็นธรรมดา ทว่าการตั้งครรภ์นั้นก็นำพาให้ร่างกายของผู้หญิงเปลี่ยนแปลงไปหลายอย่าง รวมถึงฮอร์โมนในร่างกายที่ต้องปรับเปลี่ยนเพื่อเตรียมความพร้อมให้เด็กคนหนึ่งได้เกิดมาอย่างสมบูรณ์ปลอดภัยอีกด้วย ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นก็กระทบไปถึงสุขภาพของบรรดาแม่ ๆ ทั้งหลาย จนก่อให้เกิดความเสี่ยงที่จะกลายเป็นโรคได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นโรคความดันโลหิตสูง, โรคเบาหวาน และโรคซึมเศร้าระหว่าง และหลังตั้งครรภ์ด้วยเช่นกัน โดยโรคเหล่านี้เป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่ในขณะเดียวกันก็มีวิธีป้องกัน จัดการ และรับมือให้หายขาดได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นกัน ดังนั้นวันนี้ THE OASIS คลินิกจิตเวชเราเลยอยากจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ โรคซึมเศร้าระหว่าง และหลังตั้งครรภ์ พร้อมแนะนำ 5 วิธีการจัดการโรคซึมเศร้าระหว่างตั้งครรภ์ และหลังคลอดอย่างปลอดภัยด้วย


โรคซึมเศร้าระหว่างตั้งครรภ์ และหลังคลอดคืออะไร และมีอาการอย่างไรบ้าง?

เชื่อว่าในปัจจุบัน คนส่วนใหญ่น่าจะรู้จัก และเข้าใจเรื่องโรคซึมเศร้ากันพอสมควรอยู่แล้ว ว่าเป็นโรคที่เกิดขึ้นได้เมื่อสารเคมีในสมองเปลี่ยนแปลงไป หรือเกิดอาการเครียด วิตกกังวล และอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้เกิดอารมณ์ด้านลบจนกลายเป็นโรคซึมเศร้าได้ ด้วยเหตุนี้เอง การเป็นโรคซึมเศร้าจึงเป็นความเสี่ยงที่สามารถเกิดขึ้นกับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ และหลังตั้งครรภ์ได้ง่ายขึ้น เพราะเป็นช่วงเวลาที่ฮอร์โมนในร่างกายกำลังเกิดความเปลี่ยนแปลง เมื่อเผชิญกับสภาพแวดล้อมที่ทำให้เครียดอย่าง ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างคนในครอบครัว, ความเครียดจากการทำงาน, การกังวลว่าจะเกิดอะไรไม่ดีกับลูกในท้อง, ตั้งครรภ์แบบไม่ตั้งใจ, โดนทำร้ายร่างกาย หรือเคยเป็นโรคซึมเศร้ามาก่อน ก็สามารถทำให้มันไม่สมดุลกันจนเกิดอาการซึมเศร้าได้ โดยอาการที่สามารถสังเกตได้เบื้องต้นเลยว่า น่าจะเกิดอาการซึมเศร้าอยู่ คือการซึมเศร้า, หดหู่, ร้องไห้, เบื่อ หรืออยากอาหารมากเกินไป, ชอบคิดว่าตัวเองไร้ค่า หรือเป็นแม่ที่ไม่ดี, ไม่มีสมาธิ, เหนื่อยง่าย และมีความคิดอยากฆ่าตัวตาย เป็นต้น หากพบว่าตัวเองมีอาการเหล่านี้ควรรีบปรึกษาจิตแพทย์เพื่อตรวจเช็คอาการทันที


5 วิธีจัดการโรคซึมเศร้าระหว่างตั้งครรภ์ และหลังคลอด

1. ปรึกษาจิตแพทย์ และเข้ารับการรักษาเป็นประจำ วิธีการแรกที่จะช่วยจัดการโรคซึมเศร้าได้ คือการไปหาหมอที่จะรักษาโรคนี้ได้ ซึ่งก็คือจิตแพทย์นั่นเอง เพราะการได้ปรึกษากับจิตแพทย์เพื่อสังเกต และประเมินอาการเป็นประจำ จะช่วยให้ตัวคุณแม่ และครอบครัวเข้าใจกับโรคได้ดีขึ้น เข้าถึงวิธีการรับมือได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด และสามารถหายได้อย่างปลอดภัยไร้กังวล โดยจิตแพทย์ หรือหมอจิตเวชจะเป็นผู้ให้คำปรึกษา กำหนดเรื่องการใช้ยา (ถ้าจำเป็น) นอกจากนี้ถ้าใครอยากเพิ่มกิจกรรมระหว่างวันให้คุณแม่หายเครียดได้มากขึ้น ก็สามารถเลือกนักบำบัดเพื่อทำการบำบัดได้ด้วย เช่น ดนตรีบำบัด โยคะบำบัด และศิลปะบำบัด เป็นต้น


2. ทำความเข้าใจกับคนในครอบครัว และสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม สิ่งที่ทำให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าอาการแย่ลง คือสภาพแวดล้อมที่กระตุ้นให้เกิดความเครียดตลอดเวลา ดังนั้นนอกเหนือจากการเข้าพบจิตแพทย์แล้ว คนในครอบครัวจะต้องเป็นผู้สนับสนุนที่ดี และเข้าใจในตัวคุณแม่ให้มาก ลดการทะเลาะ หรือผลักภาระการดูแลลูกให้กับแม่ฝ่ายเดียว แต่ต้องใส่ใจทั้งแม่ และลูกไปพร้อมกัน ไม่บีบคั้น หรือกดดันในเรื่องของการเป็นแม่ ที่ย้ำให้คุณแม่รู้สึกไร้ค่ามากขึ้นกว่าเดิม


3. หากิจกรรมยามว่างทำร่วมกัน และออกกำลังกาย บางครั้งวิธีการจัดการกับโรคซึมเศร้าระหว่างตั้งครรภ์ และหลังคลอดก็ง่ายนิดเดียว แค่คนในครอบครัวใช้เวลาร่วมกันให้มากขึ้น อย่างการหากิจกรรมยามว่างที่ช่วยให้เกิดการขยับร่างกาย หรือชวนกันออกกำลังกายโดยตรงเลยก็ได้ เพราะกิจกรรมเหล่านี้จะไปกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งสารเอ็นฟิน ที่ทำให้มนุษย์รู้สึกตื่นตัว มีความสุขมากขึ้น อีกทั้งการขยับร่างกายยังช่วยลดการหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลที่ทำให้เกิดความเครียดอีกด้วย เรียกว่าหาเวลาว่างแค่วันละครึ่งชั่วโมงอาทิตย์ละอย่างน้อยสามวัน เพียงเท่านี้ก็ช่วยให้อาการซึมเศร้าหายดีได้มากขึ้นแล้ว


4. ทานอาหารที่มีประโยชน์ นอกจากการเป็นโรคซึมเศร้าแล้ว พวกเขายังถือว่าเป็นว่าที่คุณแม่ และคุณแม่มือใหม่ด้วย ส่งผลให้เรื่องอาหารการกินเป็นสิ่งสำคัญมาก ๆ หากทานอาหารที่ดี ครบถ้วน สุขภาพของแม่ และเด็กก็จะแข็งแรง ฮอร์โมนก็จะไม่แผลงฤทธิ์ทำร้ายบรรดาแม่ ๆ มากนัก ยกตัวอย่างอาหารที่ควรรับประทานเช่น อาหารโปรตีนต่ำ, อาหารที่มีโอเมก้า 3, และของหวานบ้างบางครั้งบางคราว เพราะจะช่วยลดอาการเครียดแถมมีประโยชน์ต่อร่างกาย และจิตใจด้วย


5. พักผ่อนให้เพียงพอ การนอนหลับคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้มนุษย์อย่างเรามีแรงใช้ชีวิตต่อไปได้โดยไม่เหนื่อยล้า และการพักผ่อนที่ดีก็จะทำให้ร่างกายแข็งแรง จิตใจแจ่มใส ดังนั้นถ้าอยากจัดการโรคซึมเศร้าให้ได้โดยไว ก็อย่าละเลยเรื่องการนอนหลับเป็นอันขาด โดยเฉพาะแม่ลูกอ่อนที่ต้องตื่นมาให้นมบุตรกลางดึกเป็นประจำ ควรจัดสรร และแบ่งเวลากันให้ดี เพื่อคุณภาพชีวิตของแม่ และลูกน้อยที่ยั่งยืน


หลังจากอ่านมาถึงตรงนี้ เชื่อว่าทุกคนน่าจะเข้าใจโรคซึมเศร้าระหว่างตั้งครรภ์ และหลังคลอดมากขึ้นแล้ว รวมถึงเข้าใจแล้วด้วยว่าจะต้องจัดการ และรับมืออย่างไร ซึ่งก็ถือว่าไม่ใช่เรื่องยากจนน่ากังวลมากขนาดนั้น แค่ทุกคนต้องทุ่มเท และใส่ใจให้มากขึ้นเท่านั้นเอง ซึ่งถ้าใครกำลังสงสัย และกังวลว่าตัวเอง หรือภรรยากำลังประสบปัญหานี้หรือเปล่า ที่ THE OASIS คลินิกจิตเวช พร้อมรับฟังปัญหา และบริการวางแผนการรักษาโรคซึมเศร้า โรคนอนไม่หลับ โรควิตกกังวล โรคแพนิค และปัญหาสุขภาพจิตอื่น ๆ โดยจิตแพทย์ หมอจิตเวช นักจิตบำบัดผู้เชี่ยวชาญ ยินดีให้บริการปรึกษาจิตแพทย์ออนไลน์ พร้อมรับฟังปัญหา และวางแผนการรักษา บำบัดด้วยศิลปะเพื่อเพิ่มสมาธิให้กับจิตใจ และทำให้คุณได้ใส่ใจในรายละเอียดเล็ก ๆ ในชีวิตมากขึ้น ผู้รับบริการจะได้รับความรู้ความเข้าใจในภาวะโรค และมีบทบาทในการวางแผนการรักษาร่วมกัน ทั้งในส่วนการรักษาด้วยยา และการทำจิตบำบัด


The Oasis คลินิกจิตเวช บริการวางแผนรักษาโรคทางจิตเวช

โดยจิตแพทย์ หมอจิตเวช และนักจิตบำบัดผู้เชี่ยวชาญ ทั้งโรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า โรคนอนไม่หลับ อาการแพนิค อารมณ์สองขั้ว ย้ำคิดย้ำทำ และปัญหาสุขภาพจิตอื่น ๆ








ดู 829 ครั้ง0 ความคิดเห็น

댓글


bottom of page