top of page
Gradient

บทความสุขภาพจิต

รวมบทความน่ารู้ จากทีมให้คำปรึกษาของ The Oasis

โรควิตกกังวล เป็นได้ ไม่รู้ตัว


โรควิตกกังวล

ทำความรู้จัก 5 ประเภทของโรควิตกกังวล โรคร้ายที่ไม่ได้คิดไปเอง

ความรู้สึกวิตกกังวล หนึ่งในอารมณ์พื้นฐานของมนุษย์ เป็นกลไกป้องกันตัวอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นได้กับทุกคนในการดำรงชีวิตประจำวัน เพื่อช่วยให้เราตื่นตัวพร้อมรับมือกับ สถานการณ์เลวร้ายที่อาจเกิดขึ้นตรงหน้า โดยความวิตกกังวลมักเกิดขึ้นเวลาเราเจอบางสิ่งบางอย่างที่แปลกใหม่ ไม่คุ้นชิน หรือเจอสถานการณ์คับขันที่ดูไม่ปลอดภัย เช่น เวลาเจอเหตุการณ์ที่ยากเกินความสามารถในการรับมือของตนเอง หรือเวลารู้สึกถึงการโดนคุกคาม ความมั่นคงความปลอดภัยจนอยากหลีกหนี ซึ่งโดยปกติความวิตกกังวลเหล่านั้นจะหายไปเมื่อเหตุการณ์ที่เป็นภัยคุกคามจบลง แต่เมื่อใดที่ความกระวนกระวายใจเหล่านั้นเกิดขึ้นภายในจิตใจเป็นระยะเวลานาน และไม่มีท่าทีว่าจะหยุดลง จนส่งผลต่อการนอนหลับ สภาพจิตใจ ไปจนถึงการใช้ชีวิตประจำวัน นั่นหมายถึงการทำงานที่ไม่ปกติของร่างกายและจิตใจ จากความรู้สึกกังวลทั่ว ๆ ไปกลายเป็นอาการของโรควิตกกังวล (Anxiety Disorders) ที่เกิดขึ้นโดยที่คุณไม่ทันรู้ตัว


โรควิตกกังวล โรคร้ายที่ไม่ได้คิดไปเอง

โรควิตกกังวล หนึ่งในภัยเงียบที่เกิดขึ้นกับหลาย ๆ คนโดยไม่รู้ตัว จากสถิติของกรมสุขภาพจิตเมื่อปี พ.ศ. 2561 คาดว่ามีคนไทยมากกว่าหนึ่งแสนรายป่วยด้วยโรควิตกกังวล โดยมีสาเหตุจากความผิดปกติของจิตใจและความไม่สมดุลของสารสื่อประสาทในสมอง ทำให้ผู้ป่วยส่วนมากมีความแปรปรวนและความอ่อนไหวทางจิตใจ คิดฟุ้งซ่านในเรื่องทั่ว ๆ ไป กลัวและกังวลเกินกว่าเหตุ ไม่สามารถหักห้ามใจไม่ให้คิดได้ ซึ่งส่วนมากเป็นเรื่องที่ยังไม่เกิดขึ้น และอาจมีอาการทางร่างกายร่วมด้วย เช่น มีอาการกระสับกระส่าย เหนื่อยง่าย ใจสั่น รวมไปถึงปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะและลำไส้ อาการผื่นคันบนผิวหนัง งูสวัด กล้ามเนื้อกระตุก หรืออาการปวดกระเพาะปัสสาวะฉับพลัน


โรควิตกกังวลนี้เป็นโรคที่คนใกล้ชิดผู้ป่วยหลายคนเข้าใจผิด คิดว่าผู้ป่วยแกล้งทำ หรือเป็นการคิดมากไปเอง ไม่ได้เจ็บป่วยอะไร จึงไม่ได้พบจิตแพทย์ หรือหมอจิตเวช เพื่อรักษาแก้ไขที่ต้นเหตุอย่างถูกต้อง ซึ่งการรักษาโรควิตกกังวลนั้นสามารถรักษาได้โดยทานยา ร่วมกับการบำบัดทางจิตสังคม เพื่อปรับความคิดและพฤติกรรมควบคู่กันไป ดังนั้นใครที่มีอาการวิตกกังวลคิดมากเกินไป หยุดความคิดตัวเองไม่ได้ สามารถเข้าปรึกษาจิตแพทย์ใกล้บ้าน หรือขอติดต่อปรึกษาจิตแพทย์ออนไลน์ตามคลินิกจิตเวช หรือโรงพยาบาลที่มีให้บริการได้ตามความสะดวก การได้รับการดูแลรักษาโรควิตกกังวลอย่างถูกต้องย่อมส่งผลที่ดีกว่า ก่อนอาการจะรุนแรง ลึกลามจนเกิดโรคทางใจตามมาอีกหลายโรค เช่น โรคซึมเศร้า เป็นต้น


ทำความรู้จัก 5 ประเภทของโรควิตกกังวล

โรควิตกกังวลเกิดขึ้นได้จากหลากหลายปัจจัย โดยหลัก ๆ แล้วสามารถแบ่งออกได้ออกเป็น 5 ประเภท ตามลักษณะอาการของโรคและพฤติกรรมที่แสดงออก ได้แก่


1.โรควิตกกังวลทั่วไป (Generalized Anxiety Disorder: GAD) คือความผิดปกติทางอารมณ์อย่างหนึ่งที่ส่งผลกระทบมาเป็นเวลานาน ผู้ป่วยจะมีความกังวลที่มากกว่าปกติในเรื่องทั่วไปที่อาจจะเกิดขึ้นในชีวิตประจำวันหลาย ๆ เรื่องเป็นระยะเวลาตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป เช่น งาน ครอบครัว สุขภาพ การเรียน ฐานะทางสังคม ความปลอดภัย ภัยพิบัติ บางครั้งก็ไม่สามารถระบุสาเหตุของความกังวลได้ จนส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ไม่มีสมาธิ มีภาวะเครียด อาจมีอาการตื่นตระหนก หวาดกลัว ไม่สบายใจ หงุดหงิด ประหม่า พยายามหลีกเลี่ยงการเข้าสังคม และขาดความมั่นใจในตัวเองร่วมด้วย รวมไปถึงอาการทางร่างกายตั้งแต่นอนไม่หลับ ปวดตึงกล้ามเนื้อ เวียนศีรษะ อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ปวดท้องหรือท้องเสีย มีเหงื่อออกมาก หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ตัวสั่น หายใจถี่ อาจรู้สึกชา รู้สึกเจ็บเสียว หรือเจ็บเหมือนถูกเข็มแทง ผู้ป่วย GAD มักรู้สึกวิตกกังวล กลัว และไม่มีสมาธิ จึงส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง สูญเสียพลังงาน ทั้งยังอาจส่งผลให้เกิดภาวะซึมเศร้า และปัญหาสุขภาพอื่น ๆ เช่น โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ไมเกรน โรคนอนไม่หลับ โรคหัวใจ โรคแพนิค โรคกลัวแบบจำเพาะ โรคเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนใจ โรคย้ำคิดย้ำทำ เป็นต้น หากมีอาการเข้าข่ายควรรีบเข้าปรึกษาจิตแพทย์ หรือหมอจิตเวชที่คลินิกจิตเวชเพื่อหาแนวทางการรักษาโรควิตกกังวลต่อไป


2.โรคแพนิค (Panic Disorder) หรือโรคตื่นตระหนก เป็นโรควิตกกังวลชนิดหนึ่งที่มีความวิตกกังวลสุดขีด หรือมีความกลัว ความอึดอัด ไม่สบายอย่างรุนแรง เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและถึงขีดสูงสุดในเวลา 10 นาที คงอยู่สักระยะหนึ่ง แล้วค่อย ๆ ทุเลาลง อาการมักหายในเวลาประมาณครึ่งชั่วโมง อาการของโรคแพนิกที่เห็นได้ชัด ได้แก่ ใจสั่น ใจเต้นเร็ว ลั่นเหมือนตีกลอง เหงื่อแตก ตัวสั่น หายใจติดขัด หายใจไม่อิ่ม รู้สึกอึดอัด หรือสำลักเหมือนมีก้อนจุกที่คอ เจ็บหรือแน่นหน้าอก ดูใกล้เคียงกับโรคหัวใจจนหลายคนมักเข้าใจผิด หรือบางรายอาจมีอาการคลื่นไส้ ปั่นป่วนในท้อง มึนงง วิงเวียน หน้ามืดเป็นลม ชามือหรือซ่าตามปลายเท้า หนาวสั่น ร้อนวูบวาบ อ่อนเพลีย หรือแม้กระทั่งรู้สึกว่าส่วนต่าง ๆ ในร่างกายของตัวเองหรือสิ่งแวดล้อมนั้นเปลี่ยนไป ไม่เหมือนจริง กังวลมากจนถึงขั้นกลัวจะควบคุมตัวเองไม่ได้ อาการข้างต้นนั้นสามารถเกิดที่ไหนหรือเมื่อไหร่ก็ได้ ซึ่งคาดเดาได้ยาก แต่ผู้ป่วยควรสังเกตตัวเองเพื่อหาจุดเชื่อมโยงว่าอะไรเป็นสาเหตุที่กระตุ้นให้เกิดอาการ เพื่อควบคุม หลีกเลี่ยง และเป็นแนวทางการรักษาเมื่อเกิดอาการซ้ำอีกในอนาคต การรักษาโรคแพนิคสามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาตามคำแนะนำของจิตแพทย์ หรือหมอจิตเวชอย่างเคร่งครัด หรือใช้การบำบัดความคิดและพฤติกรรม (Cognitive behavioral therapy: CBT)


3.โรคกลัวสังคม (Social Anxiety Disorder หรือ Social Phobia) เป็นความผิดปกติทางจิตใจรูปแบบหนึ่งที่ส่งผลให้รู้สึกวิตกกังวลหรือกลัวเมื่อต้องเข้าสังคมหรือต้องพบปะผู้คนที่ไม่คุ้นเคย กลัวตัวเองจะต้องถูกจ้องมอง ทำอะไรน่าอาย ต้องคอยหลบ และมักคิดในแง่ลบว่าคนอื่นจะนินทาลับหลังจึงพยายามหลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่สาธารณะ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น และมีปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวัน พบเห็นได้บ่อยในเด็กและวัยรุ่น ผู้ที่ป่วยเป็นโรคกลัวสังคมจะมีอาการทางร่างกายต่าง ๆ เช่น เวียนหัว มีนงง ท้องไส้ปั่นป่วน มือสั่น ใจสั่น เหงื่อแตก หน้าแดงหรือเกร็งกล้ามเนื้อต่าง ๆ หรือบางคนอาจกลัวลนลาน วิ่งหนีออกจากสถานการณ์ตรงหน้าไปเลย ซึ่งแตกต่างจากพฤติกรรม “ขี้อาย” ที่สามารถหายเองได้เมื่อเด็กโตขึ้น หากเด็กที่มีอาการกลัวการเข้าสังคมอย่างมาก อาจเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาในด้านการพัฒนาตนเอง บุคลิกภาพ และการเข้าสังคม ทำให้เกิดความรู้สึกอึดอัดกับตนเอง การหลีกหนีจากสถานการณ์ทางสังคมเป็นเพียงการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า หากผู้ป่วยมีอาการหวาดกลัว วิตกกังวล และหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมในสังคมร่วมกับผู้อื่น ควรปรึกษาจิตแพทย์ หรือหมอจิตเวชที่คลินิกจิตเวชเพื่อรับการรักษา ก่อนเกิดปัญหาทางอารมณ์หรือโรคซึมเศร้าตามมาภายหลัง


4.โรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive Compulsive Disorder: OCD) เป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่งที่ส่งผลต่อความคิดและพฤติกรรมของผู้ป่วยอย่างชัดเจนจากความวิตกกังวล แสดงออกมาเป็นอาการย้ำคิดและอาการย้ำทำ คิดซ้ำไปซ้ำมา ทำให้เกิดความไม่สบายใจ ต้องใช้เวลาในการจัดการกับสิ่งต่าง ๆ มากจนรบกวนกิจวัตรประจำวัน อาชีพการงาน การเข้าสังคม หรือกระทบความสัมพันธ์ที่มีต่อผู้อื่น ส่วนมากผู้ป่วยจะรู้สึกว่าความคิดหรือการกระทำของตนเองนั้นมีความไม่สมเหตุสมผล ไม่รู้ว่าตนเองคิดหรือทำซ้ำๆ ไปเพื่ออะไร สร้างความทุกข์ทรมานอย่างมากแก่ผู้ป่วย เมื่อผู้ป่วยรู้สึกมีปัญหาในการใช้ชีวิต หรือไม่สบายใจกับพฤติกรรมการย้ำคิดย้ำทำของตัวเอง สามารถเข้าปรึกษาจิตแพทย์ หรือหมอจิตเวชที่คลินิกจิตเวชได้ทันที


5.โรคกลัวแบบเฉพาะเจาะจง (Phobias) เป็นความผิดปกติทางจิตใจอย่างหนึ่ง ซึ่งทางการแพทย์ยังไม่ทราบสาเหตุที่เกิดขึ้นของโรคอย่างชัดเจน แต่เป็นไปได้ว่าอาจเกิดจากปมในอดีตที่ฝังใจ หรือติดค้างอยู่ในจิตใต้สำนึกที่อาจเคยพบเจอเหตุการณ์ไม่ดีกับสิ่งนั้นมาก่อน ผู้ป่วยจะแสดงอาการหวาดกลัวอย่างรุนแรงต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใด หรือสถานการณ์เฉพาะ ซึ่งจะเป็นไปอย่างไร้เหตุผล และจะกลัวเฉพาะสิ่งเร้าบางอย่างเท่านั้นเกิดความวิตกกังวลที่มากเกินไปในเรื่องบางเรื่อง ซึ่งทางการแพทย์ยังไม่ทราบสาเหตุที่เกิดขึ้นของโรคอย่างชัดเจน แต่เป็นไปได้ว่าอาจเกิดจากปมในอดีตที่ฝังใจ หรือติดค้างอยู่ในจิตใต้สำนึกที่อาจเคยพบเจอเหตุการณ์ไม่ดีกับสิ่งนั้นมาก่อน ผู้ป่วยจะแสดงอาการหวาดกลัวอย่างรุนแรงต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใด หรือสถานการณ์เฉพาะ ซึ่งจะเป็นไปอย่างไร้เหตุผล และจะกลัวเฉพาะสิ่งเร้าบางอย่างเท่านั้นเกิดความวิตกกังวลที่มากเกินไปในเรื่องบางเรื่อง โดยสามารถแบ่งประเภทของความกลัวได้ตามสิ่งกระตุ้น (phobia stimulus) เช่น โรคกลัวสัตว์ (แมงมุม, แมลง, สุนัข), กลัวสภาพแวดล้อมทางธรรมชาตื (ความสูง, พายุ,น้ำท่วม), กลัวการฉีดยาหรือกลัวเลือด, สถานการณ์เฉพาะบางอย่าง (โดยสารเครื่องบิน, ขึ้นลิฟต์) เป็นต้น แม้จะรู้สึกไม่สมเหตุสมผล แต่ก็ไม่สามารถห้ามความกลัวได้ ผู้ป่วยมักเกิดปฏิกิริยาทางกายขึ้นมาหากพบเจอกับสิ่งที่กลัว เช่น ใจสั่น หน้ามืด มือ-เท้าเย็น อาจทำให้ใจสั่น หายใจลำบาก เหงื่อออก หรืออาการกลัวเฉพาะอย่างที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กลัวเลือด กลัวที่แคบ กลัวสุนัข กลัวความสูง เป็นต้น แม้ว่าจะรู้สึกว่าไม่สมเหตุสมผล แต่ก็ไม่สามารถห้ามความกลัวได้ ผู้ป่วยมักเกิดปฏิกิริยาทางกายขึ้นมาหากอยู่ในสถานการณ์จำเพาะเจาะจง เช่น ใจสั่น หน้ามืด มือ-เท้าเย็น อาจทำให้ใจสั่น หายใจลำบาก เหงื่อออก


จะเห็นได้ว่าโรควิตกกังวลสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน มีอาการหลากหลายรูปแบบ ใครที่กำลังสงสัยว่าตัวเองเข้าข่ายเป็นโรควิตกกังวล สามารถขอคำปรึกษาจิตแพทย์ หรือหมอจิตเวชจากคลินิกจิตเวชใกล้บ้าน หรือใช้บริการปรึกษาจิตแพทย์ออนไลน์จากคลินิกจิตเวชหรือโรงพยาบาลที่ไว้ใจ


THE OASIS คลินิกจิตเวช ให้บริการทางจิตเวชโดยนักบำบัด จิตแพทย์ หมอจิตเวชผู้เชี่ยวชาญ ดูแลครอบคลุมทั้งบริการทางจิตเวชทั่วไปในเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ มีการตรวจประเมินสุขภาพจิตอย่างละเอียด ทั้งด้านการซักประวัติ ตรวจร่างกาย ระบบประสาท และประเมินศักยภาพสมอง สามารถให้คำปรึกษาในกลุ่มอาการหลากหลายที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของท่านหรือคนที่ท่านรัก บริการให้คำปรึกษาจิตแพทย์ออนไลน์ พร้อมนัดหมายวางแผนรับคำปรึกษาโรคซึมเศร้า โรคนอนไม่หลับ โรควิตกกังวล และปัญหาสุขภาพจิตอื่นๆ โดยคุณสามารถเลือกโปรแกรมการรักษาโรคซึมเศร้า โรคนอนไม่หลับ โรควิตกกังวล และปัญหาสุขภาพจิตอื่น ๆ ได้อย่างเหมาะสม


The Oasis คลินิกจิตเวช บริการวางแผนรักษาโรคทางจิตเวช

โรควิตกกังวล โรคนอนไม่หลับ โรคซึมเศร้า อาการแพนิค อารมณ์สองขั้ว ย้ำคิดย้ำทำ จิตบำบัดแบบกลุ่ม







ดู 300 ครั้ง0 ความคิดเห็น
bottom of page