top of page
Gradient

บทความสุขภาพจิต

รวมบทความน่ารู้ จากทีมให้คำปรึกษาของ The Oasis

โรคนอนไม่หลับ มีอยู่จริงมั้ย…? หากปล่อยไว้อันตรายแค่ไหน!


โรคนอนไม่หลับ

ไขข้อสงสัย โรคนอนไม่หลับ มีอยู่จริงมั้ย? พร้อมวิธีการสังเกตอาการโรคนอนไม่หลับเบื้องต้นด้วยตัวเอง

ทุกคนล้วนมีเวลา 24 ชั่วโมงเท่ากันขึ้นอยู่กับว่าแต่ละคนจะจัดสรรเวลานั้นให้มีประสิทธิภาพสูงสุดได้อย่างไร หลายคนมักจะให้ความสำคัญกับงานมากเกินไปจนทำให้ละเลยการดูแลสุขภาพอย่างเรื่องของการพักผ่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนอนหลับให้เพียงพอ อย่าลืมว่า 1 ใน 3 ของเวลาทั้งหมดที่เรามีในแต่ละวันควรแบ่งมาพักผ่อนให้เต็มที่ ความเข้าใจผิดที่ว่าการนอนหลับให้เพียงพอโดยประมาณ 7-9 ชั่วโมงอาจเป็นการเสียเวลาหากแบ่งเวลานอนหลับมาสัก 2-3 ชั่วโมงเพื่อมาทำงาน อาจทำให้ได้ผลลัพธ์ในเรื่องงานที่ดีกว่า แท้ที่จริงแล้วเป็นความคิดที่ผิด เพราะการนอนหลับไม่เพียงพอจะส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นระบบสารเคมีในร่างกาย ระบบหัวใจและระบบหลอดเลือด จะไม่สามารถปรับสมดุลได้อย่างเต็มที่หากนอนหลับไม่เพียงพอ สำหรับบางคนที่สามารถจัดเวลานอนหลับให้เหมาะสมได้ แต่เจอกับภาวะโรคนอนไม่หลับ บทความนี้ THE OASIS คลินิกจิตเวช จะมาเจาะลึกหัวข้อที่ว่า ‘โรคนอนไม่หลับมีอยู่จริงหรือไม่? หากปล่อยไว้อันตรายแค่ไหน!’ เพื่อที่ทุกคนจะได้นำไปสังเกตและเฝ้าระวังให้ห่างไกลจากโรคนี้ ทั้งตัวเราเองและคนที่เรารัก


สังเกตอาการโรคนอนไม่หลับ

โรคนอนไม่หลับ หรือ Insomnia คือภาวะของผู้ที่มีอาการนอนหลับยาก นอนหลับไม่สนิท หรือต้องใช้เวลานานถึงจะสามารถนอนหลับได้ โดยทั่วไปจะพบในวัยทำงานและวัยผู้สูงอายุ อาการโรคนอนไม่หลับจะส่งผลเสียต่อร่างกายในระยะยาวและอาจนำไปซึ่งการเป็นโรคอื่น ๆ อาทิเช่น โรคนอนไม่หลับเรื้อรัง โรควิตกกังวล หรืออาจแย่ไปจนถึงการเป็นโรคซึมเศร้าก็เป็นได้ โดยเราสามารถสังเกตอาการโรคนอนไม่หลับเบื้องต้นได้ ซึ่งถ้าพบว่าเข้าข่ายการเป็นโรคนอนไม่หลับ แนะนำให้เข้ารับการปรึกษาจิตแพทย์ หรือหมอจิตเวชที่คลินิกจิตเวชที่เชี่ยวชาญในการเป็นที่ปรึกษาโรคนอนไม่หลับ โรควิตกกังวล โรคซึมเศร้าและโรคทางจิตเวชอื่น ๆ สำหรับใครที่ไม่กล้าไปพบจิตแพทย์หรือหมอจิตเวชที่คลินิกจิตเวชก็สามารถขอคำปรึกษาจิตแพทย์ออนไลน์จากคลินิกจิตเวชหรือโรงพยาบาลที่ไว้ใจ แต่ก่อนอื่นเรามาสำรวจตัวเองและสังเกตอาการโรคนอนไม่หลับเบื้องต้นได้ดังต่อไปนี้


- ใช้เวลาในการพยายามนอนหลับมากกว่า 20 นาทีขึ้นไป

- รู้สึกตัวขณะที่นอนหลับทุก ๆ 2-3 ชั่วโมง

- สะดุ้งตื่นในตอนกลางคืนและพยายามหลับต่อได้ยาก

- มีอาการนอนไม่หลับมากกว่า 3 วัน/สัปดาห์ และติดต่อเป็นระยะเวลานานกว่า 3 เดือน

- ขาดสมาธิในการทำงาน ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง

- มีอารมณ์ฉุนเฉียวและหงุดหงิดง่ายกว่าปกติ

- รู้สึกอ่อนเพลีย อยากพักผ่อน แต่ไม่สามารถนอนหลับได้อย่างสนิท


อันตรายจากโรคนอนไม่หลับ

ในขณะที่ร่างกายหลับจะเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดที่ร่างกายจะได้รับการฟื้นฟูซ่อมแซมอย่างเต็มที่หลังจากที่ได้ใช้งานมาทั้งวัน โกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) จะหลั่งออกมาขณะที่ร่างกายหลับ ส่งผลให้ระบบภายในร่างกายได้รับการฟื้นฟู แต่ถ้าเกิดอาการโรคนอนไม่หลับเป็นระยะเวลานานหลายเดือนก็จะส่งผลให้ขั้นตอนการฟื้นฟูร่างกายหยุดชะงักนำมาซึ่งความผิดปกติของร่ายกายต่าง ๆ ทั้งภายนอกและภายใน ยกตัวอย่างเช่น ผิวหมองคล้ำ, ใต้ขอบตาดำ, ระบบขับถ่ายแย่ หรืออารมณ์ฉุนเฉียว เป็นต้น ยิ่งไปกว่านั้นหากเป็นโรคนอนไม่หลับเรื้อรังจะสามารถนำมาซึ่งโรคภัยอื่น ๆ ที่อันตราย ยกตัวอย่างเช่น โรคภูมิคุ้มกันต่ำ, โรคความดันโลหิตสูง หรือโรคเกี่ยวกับจิตใจ ไม่ว่าจะเป็นโรควิตกกังวลหรือโรคซึมเศร้า เป็นต้น ส่งผลให้ผู้คนในปัจจุบันต้องเข้ารับการรักษากับจิตแพทย์ หรือหมอจิตเวชที่คลินิกจิตเวช โดยที่จิตแพทย์จะให้คำปรึกษาตามอาการ โดยสังเกตว่าโรคนอนไม่หลับอยู่ในขั้นตอนใดและมีอาการของโรควิตกกังวลและโรคซึมเศร้าร่วมด้วยหรือไม่ ซึ่งโรคทั้งหลายที่ได้กล่าวไปข้างต้นก็อาจมีสาเหตุมาจากโรคนอนไม่หลับที่อาจส่งผลอันตรายต่อร่างกายมากกว่าที่เราคิด


เชื่อว่าคนในยุคปัจจุบันอาจกำลังเผชิญกับภาวะโรคนอนไม่หลับอย่างไม่รู้ตัว เนื่องด้วยพฤติกรรมและสภาพแวดล้อมที่ค่อนข้างกดดันรายล้อมไปด้วยความเร่งรีบและการขันแข่งอาจนำมาซึ่งความเครียดส่งผลให้เกิดภาวะนอนไม่หลับ ซึ่งจุดเริ่มต้นของการนอนไม่หลับ อาจเป็นฉนวนที่เป็นสาเหตุของการนำมาซึ่งโรคเสี่ยงต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคที่เกี่ยวข้องกับจิตใจอย่างโรควิตกกังวลหรือโรคซึมเศร้า


หากท่านหรือคนที่ท่านรักมีอาการของโรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล หรือโรคนอนไม่หลับ THE OASIS คลินิกจิตเวช พร้อมรับฟังปัญหาและบริการวางแผนการรักษา โดยจิตแพทย์ หมอจิตเวช นักจิตบำบัดผู้เชี่ยวชาญ พร้อมบริการปรึกษาจิตแพทย์ออนไลน์ สามารถให้คำปรึกษาในกลุ่มอาการหลากหลายที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของท่านหรือคนที่ท่านรัก เริ่มตั้งแต่กลุ่มอาการเครียด เช่น รู้สึกวิตกกังวล คิดวกวน ไม่มีเรี่ยวแรง นอนไม่หลับ หงุดหงิดง่าย หรือแพนิค (อาการตื่นตระหนกโดยไม่มีสาเหตุ) ไม่ว่าจะเป็นอาการแบบใด ผู้รับบริการจะได้รับความรู้ความเข้าใจในภาวะโรคและมีบทบาทในการวางแผนการรักษาร่วมกัน ทั้งในส่วนการรักษาด้วยยาและการทำจิตบำบัด


The Oasis คลินิกจิตเวช บริการวางแผนรักษาโรคทางจิตเวช

โรควิตกกังวล โรคนอนไม่หลับ โรคซึมเศร้า อาการแพนิค อารมณ์สองขั้ว ย้ำคิดย้ำทำ จิตบำบัดแบบกลุ่ม







ดู 228 ครั้ง0 ความคิดเห็น
bottom of page