top of page
Gradient

บทความสุขภาพจิต

รวมบทความน่ารู้ จากทีมให้คำปรึกษาของ The Oasis

ความท้าทาย และแนวทางการรักษาโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ

อัปเดตเมื่อ 2 ต.ค. 2566



ปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ ความท้าทาย และแนวทางในการรักษาโรคซึมเศร้า


เชื่อว่าในปัจจุบันอาการของโรคซึมเศร้าน่าจะเป็นเรื่องที่คนส่วนใหญ่สามารถรับรู้ และเข้าใจได้แล้วว่าเกิดขึ้นมาจากอะไร และเพราะเหตุใดจึงต้องอาศัยการรักษาจากจิตแพทย์ หรือหมอจิตเวช และนักบำบัดผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการศึกษามาเป็นอย่างดี แน่นอนว่าเมื่อมีคนที่เข้าใจในเรื่องของอาการของโรคซึมเศร้าแล้ว ก็อาจจะเริ่มอยากรู้ต่อไปว่า ถ้าหากโรคนี้ไม่สามารถรักษาให้หายได้ด้วยการจัดการจิตใจตามปกติ แล้วการไปปรึกษา หรือพูดคุยกับบรรดาจิตแพทย์ และนักบำบัดผู้เชี่ยวชาญจะช่วยอะไรได้บ้าง แล้วพวกเขามีความจำเป็น และมีบทบาทแบบไหนต่อผู้ป่วยโรคซึมเศร้ากันแน่ ดังนั้นหากใครกำลังสงสัยในเรื่องนี้อยู่ และอยากทำความเข้าใจกับบทบาท และหน้าที่ รวมถึงวิธีการรักษาที่พวกเขาจะมอบให้เราว่าเป็นอย่างไร ในบทความนี้ THE OASIS คลินิกจิตเวช เราจะมาอธิบายให้ทุกคนเข้าใจง่าย ๆ เอง ตามมาอ่านไปพร้อมกันเลย


จิตแพทย์ และนักบำบัดผู้เชี่ยวชาญในด้านการรักษาโรคซึมเศร้าคือใคร?

เพื่อขยายความให้ทุกคนมองเห็นภาพเดียวกันได้ง่าย ๆ เราเลยอยากจะพาทุกคนมาทำความรู้จักไปพร้อม ๆ กันก่อนว่าบุคลากรทั้งสองตำแหน่งที่เราหยิบยกขึ้นมา แนะนำในวันนี้เป็นใคร แล้วทำไมพวกเราถึงไว้วางใจให้มารักษาโรคซึมเศร้าได้ คำตอบก็คือทั้งสองตำแหน่งนี้นับเป็นตำแหน่งทางการแพทย์ที่ช่วยชาญด้านการรักษา และดูแลปัญหาด้านจิตใจ กล่าวคือคนที่จะเป็นจิตแพทย์ หรือหมอจิตเวชได้ จำเป็นต้องเรียนจบคณะแพทยศาสตร์มาก่อน 6 ปี จากนั้นก็ทำการต่อเฉพาะทางด้านจิตเวชต่อโดยเฉพาะ ดังนั้นพวกเขาก็คือบุคลากรทางการแพทย์นั่นเอง ส่วนนักบำบัดก็เป็นกลุ่มคนที่ได้รับการฝึกฝนมาเพื่อดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเช่นกัน และได้รับการรับรองจากสถาบันที่ไว้ใจได้ (ในประเทศไทยยังไม่มีการเรียนการสอนด้านนี้โดยเฉพาะ) โดยจะแบ่งออกไปตามประเภทการดูแลที่ถนัด เช่น เน้นด้านศิลปะบำบัด ดนตรีบำบัด หรือโยคะบำบัด เป็นต้น นี่จึงเป็นเหตุผลที่พวกเขาได้รับการไว้วางใจให้ดูแลผู้ป่วยซึมเศร้า


บทบาทของจิตแพทย์ และนักบำบัด ในการช่วยให้ผู้ป่วยหายจากโรคซึมเศร้ามีอะไรบ้าง?

1. บทบาทของจิตแพทย์

เริ่มต้นกันที่ตำแหน่งแรกก่อนเลย นั่นก็คือจิตแพทย์ หรือหมอจิตเวชนั่นเอง ดังที่เราได้กล่าวไปในข้างต้นว่าตำแหน่งนี้ก็คือแพทย์เฉพาะทางที่ได้รับการศึกษา และฝึกฝนมาเป็นอย่างดีเพื่อดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้า และโรคทางจิตเวชอื่น ๆ โดยเฉพาะดังนั้นพวกเขาจึงเป็นเหมือนปราการด่านแรกที่ผู้มีอาการทุกคนจำเป็นต้องไปพบ สำหรับบทบาทหน้าที่ของจิตแพทย์ ก็จะสามารถแบ่งเป็นสามข้อใหญ่ ๆ ได้ดังนี้

  1. ประเมินอาการ และวางแผนการรักษา: ถ้าเรารู้สึกว่าจิตใจไม่สบายเหมือนเก่าก่อน และตัดสินใจเดินทางเข้าคลินิกจิตเวชหรือโรงพยาบาล จิตแพทย์ หรือหมอจิตเวชจะมีบทบาทในการประเมินอาการของทุกคนแบบเบื้องต้นก่อนว่าเรามีอาการอย่างไร เพื่อสอบประวัติอาการป่วย และดำเนินการวางแผนการรักษา หลังจากทราบแล้วว่าเราป่วยเป็นโรคอะไรก็จะทำการบอกกับเราและปรึกษากันถึงวิธีการต่าง ๆ ตามระบบที่เตรียมไว้

  2. ทำการรักษาด้วยการให้คำปรึกษา: เมื่อทราบแล้วว่าอาการของผู้ป่วยแต่ละคนเป็นอย่างไร บทบาทของจิตแพทย์ก็คือการรักษาผ่านการพูดคุย และให้คำปรึกษาเป็นอย่างแรก เพื่อรับฟังเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตคนไข้ และช่วยกันหาทางออกที่ดีที่สุดในการปรับความคิดจากภายใน พร้อมช่วยหากิจกรรม หรือหัวข้อใหม่ ๆ ที่จะทำให้คนไข้สามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้ดีขึ้น

  3. ทำการรักษาด้วยการให้ยา: เนื่องจากโรคซึมเศร้านั้นเป็นโรคที่มีสาเหตุหลักมาจากสารเคมีในสมองไม่เท่ากัน ในรายที่ไม่สามารถรักษาได้ด้วยการปรับความคิดเพียงอย่างเดียว บทบาทต่อไปของจิตแพทย์ก็คือการให้ยาในการรักษาร่วมด้วย เพราะฉะนั้นผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่มีการวางแผนการรักษาด้วยการให้ยา จึงต้องมาพบจิตแพทย์ตามนัดเสมอ และห้ามหยุดทานยาด้วยตัวเองเด็ดขาด ต่อให้จะรู้สึกว่าอาการดีขึ้นแล้วก็ตาม

2. บทบาทของนักบำบัด

ถ้าเราเปรียบจิตแพทย์ หรือหมอจิตเวชเป็นคุณครู นักบำบัดก็คงจะเหมือนครูสอนพิเศษที่เข้ามาช่วยประคับประคองความรู้สึกเราให้ผ่านช่วงเวลายากๆ โดยมีคนเคียงข้างผ่านการทำกิจกรรมบำบัดต่าง ๆ ซึ่งก็ถือว่าเป็นหมวดหมู่เดียวกับการพูดคุยกับจิตแพทย์ เพียงแต่เปลี่ยนมาเป็นการปฏิบัติด้วยร่างกายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การพูดคุย ศิลปะบำบัด ละครบำบัด ดนตรีบำบัด การเคลื่อนไหวบำบัด เป็นต้น ซึ่งบทบาทของนักบำบัดก็คือการเป็นผู้ร่วมทางเราในการทำกิจกรรมเหล่านี้ และอยู่กับอารมณ์ความรู้สึกที่แตกต่างหลากหลายไปด้วยกันอย่างเป็นกันเอง


หลังจากอ่านมาถึงตรงนี้เชื่อว่าทุกคนน่าจะเห็นภาพชัดแล้วว่าทั้งจิตแพทย์ หรือหมอจิตเวช และนักบำบัดเขามีบทบาทในการรักษาเราอย่างไรบ้าง จะเห็นได้เลยว่าผู้ที่มีหน้าที่หลักในการดูแลเราก็คือจิตแพทย์ ส่วนนักบำบัดจะมีหน้าที่เข้ามาเสริมในส่วนของการทำกิจกรรมที่จะปรับ และบำบัดพฤติกรรม และความคิดของเราให้กลับเข้ามาสู่จุดสมดุลของจิตใจได้ดีขึ้น ซึ่งทั้งสองตำแหน่งถือว่ามีความสำคัญต่อผู้ป่วยโรคซึมเศร้าทั้งหมด


อย่างไรก็ตามหากใครที่กำลังต้องการเข้ารับการปรึกษาจิตแพทย์ด้านสุขภาพจิต โรคซึมเศร้า โรคนอนไม่หลับ โรควิตกกังวล โรคแพนิค หรือปัญหาสุขภาพจิตอื่น ๆ ที่ THE OASIS คลินิกจิตเวช พร้อมรับฟังปัญหา และบริการวางแผนการรักษาโรคซึมเศร้า โรคนอนไม่หลับ โรควิตกกังวล โรคแพนิค และปัญหาสุขภาพจิตอื่น ๆ โดยจิตแพทย์ หมอจิตเวช นักจิตบำบัดผู้เชี่ยวชาญ พร้อมบริการปรึกษาจิตแพทย์ออนไลน์ สามารถให้คำปรึกษาในกลุ่มอาการหลากหลายที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของท่าน หรือคนที่ท่านรัก เริ่มตั้งแต่กลุ่มอาการเครียด ไม่ว่าจะเป็นอาการแบบใด ผู้รับบริการจะได้รับความรู้ความเข้าใจในภาวะโรค และมีบทบาทในการวางแผนการรักษาร่วมกัน ทั้งในส่วนการรักษาด้วยยา และการทำจิตบำบัด


The Oasis คลินิกจิตเวช บริการวางแผนรักษาโรคทางจิตเวช

โดยจิตแพทย์ หมอจิตเวช และนักจิตบำบัดผู้เชี่ยวชาญ ทั้งโรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า โรคนอนไม่หลับ อาการแพนิค อารมณ์สองขั้ว ย้ำคิดย้ำทำ และปัญหาสุขภาพจิตอื่น ๆ








ดู 100 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comentários


bottom of page